หลักสูตร ESTH
Program Coordinator’s Message

ESTH-Message

Program Coordinator’s Message

 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 เดิมชื่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และสุขภาพ) ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิด ความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์เชิงบูรณาการที่สามารถประสานองค์ความรู้ในศาสตร์อย่างเท่าทันกับนวัตกรรมและความเปลี่ยนแปลงเพื่อปกป้องสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
จุดเด่นของหลักสูตร ในแง่ความเป็นอัตลักษณ์ เป็นหลักสูตรที่เปิดการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาที่บูรณาการศาสตร์ด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย โดยเป็นศาสตร์ความรู้ที่สำคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับชาติและนานาชาติ ส่วนจุดเด่นของหลักสูตรในแง่ของวิชาการ ถือได้ว่าเป็นหลักสูตรที่จะสามารถสร้างนักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถในการบูรณาการหลักการทางสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากความต้องการของสถานประกอบการและผู้ใช้บัณฑิต มีรายวิชาที่ทันสมัยและมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาในเข้ากับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย
กระบวนการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ “เก่งวิชาการเชี่ยวชาญการปฏิบัติ” (Academic Excellence with Professional Skills) เพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษา โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการเรียนรู้เชิงลึกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning) โดยใช้สถานการณ์ปัญหาจริงในพื้นที่ คณาจารย์ผู้สอนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหลักสูตร ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รองรับการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาไทยและต่างชาติ
หลักสูตรมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มีความร่วมมือทางวิชาการอยู่แล้วกับคณาจารย์ในสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ อาทิ ประเทศเกาหลีใต้ Universiti Putra Malaysia (UPM) ประเทศมาเลเซีย และ Hokkaido University ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งสามารถเอื้อประโยชน์ในการส่งนักศึกษาไปทำวิจัยประกอบวิทยานิพนธ์ และ/หรือ เชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างประเทศดังกล่าวมาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์พิเศษ ในลักษณะของ Visiting professor ซึ่งจะสนับสนุนการเรียนการสอนของหลักสูตรได้เท่าเทียมระดับนานาชาติ