OHSEC WU

หน่วยบริการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Occupational Health, Safety and Environmental Service Center, Walailak University

1.  ที่มาและความสำคัญของหน่วยให้บริการฯ

         ผลจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554  และกฎหมายฉบับอื่นๆ ในช่วงที่ผ่านมา ได้กระตุ้นให้สถานประกอบการต่างๆ มีการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัยฯ รวมถึงการจัดให้มีการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานประจำปี เป็นต้น
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปี 2542) ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดตั้งหน่วยบริการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมการดำเนินภารกิจด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัย ควบคู่กับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ บนพื้นฐานของความพร้อมทั้งในด้านหลักวิชาการ บุคลากรที่มีความสามารถและประสบการณ์ รวมถึงอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับใช้ตรวจวัดและวิเคราะห์ตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพ

2.  วัตถุประสงค์
         1)  เพื่อให้บริการฝึกอบรม ให้คำปรึกษาทางวิชาการ และให้บริการตรวจวัดด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม แก่หน่วยงานภายนอก
       2)  เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้มีทักษะและประสบการณ์ในวิชาชีพมากยิ่งขึ้น

3.  รูปแบบการให้บริการ
       3.1  บริการฝึกอบรมฯ :
             1)  หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
                        –  จป.หัวหน้างาน  (ระยะเวลา 12 ชั่วโมง/2 วัน)
                        –  จป.บริหาร  (ระยะเวลา 12 ชั่วโมง/2 วัน)
                         –  จป.เทคนิค  (ระยะเวลา 18 ชั่วโมง/3 วัน)
             2)  หลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัยฯ  (ระยะเวลา 12 ชั่วโมง/2 วัน)
             3)  หลักสูตรอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น
                        –  เทคนิคการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง (8 เทคนิค) ตามประกาศกระทรวงฯ / มอก.18001
                        –  การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA) และการจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย (SSOP/WI)
                        –  การออกแบบและประเมินประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศ
                         –  หลักสูตรอื่นๆ ฯลฯ

              รูปแบบการฝึกอบรมและอัตราค่าลงทะเบียน
             1)  Public Training (วันเวลาที่จัด กรุณาสอบถามเพิ่มเติม)
                        –  จป.หัวหน้างาน : 1,600 บาท/ท่าน
                        –  จป.บริหาร : 1,800 บาท/ท่าน
                        –  จป.เทคนิค : 2,400 บาท/ท่าน
                        –  คปอ. : 1,600 บาท/ท่าน
             2)  In-House Training (ฝึกอบรม ณ สถานประกอบการ)
                        –  ค่าลงทะเบียน ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เข้าอบรมฯ

       3.2  บริการตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงาน
          ดำเนินการตรวจวัด จัดทำและรับรองรายงานโดยคณาจารย์หลักสูตรอาชีอนามัยและความปลอดภัย/อนามัยสิ่งแวดล้อม และคณะทำงาน ซึ่งหน่วยบริการฯ สามารถตรวจวัดปัจจัยต่างๆ ดังนี้

             1)  การตรวจวัดสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ

ลำดับที่รายการค่าบริการ*
1
ระดับแสงสว่าง (พร้อม Layout)
1.1 แสงเฉลี่ย พื้นที่ทั่วไป/การผลิต
1.2 แสงเฉพาะจุดที่ลูกจ้างทำงาน

100 – 400
10 – 100

2
ระดับเสียง (เฉลี่ยแบบพื้นที่/ที่ตัวบุคคล)
2.1 เสียงเฉลี่ย 8 แปดชั่วโมง (TWA)
2.2 เสียงเฉลี่ยช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (Leq)

800
100 – 400

3
ระดับเสียงพร้อมแยกความถี่

500

4
ระดับเสียงรบกวนจากสถานประกอบการ

1,200

5
ระดับความร้อน WBGT

400 – 800

6
ระดับความร้อนที่ตัวบุคคล

600 – 800

             2)  การตรวจวัดสภาพแวดล้อมด้านเคมี และการระบายอากาศ

ลำดับที่รายการค่าบริการ*
1
ฝุ่นรวมทุกขนาด (Total dust)

500 – 800

2
ฝุ่นขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (Respirable dust)

500 – 800

3
ฟูมโลหะหนักในพื้นที่ทำงาน

800-1,600

4
ไอระเหยสารอินทรีย์ (VOCs)

800-1,500

5
ไอกรดอนินทรีย์ / ไอด่าง

800-1,600

6
การระบายอากาศ (Ventilation)
6.1 ตรวจวัดอัตราการไหลและการถ่ายเทของอากาศในห้อง (Air Change)
6.2 ตรวจประเมินประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศ ได้แก่ ฮูดดูดอากาศ  ระบบท่อ อุปกรณ์ควบคุมมลพิษ ฯลฯ

400 – 800
100 – 500

       3.3  บริการตรวจวัดสมรรถภาพของร่างกาย

ลำดับที่รายการค่าบริการ*
1
การตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยิน

40 – 60

2
การตรวจวัดสมรรถภาพปอด

60 – 80

3
การตรวจวัดสมรรถภาพการมองเห็น

40 – 60

หมายเหตุ :  * ค่าบริการ (หน่วย : บาท) ขึ้นกับจำนวนจุดที่ตรวจวัด

4.  วิทยากรและคณะทำงาน

คณาจารย์สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  และสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี
ร่วมกับ:  นักอาชีวอนามัยฯ นักวิทยาศาสตร์ ประจำศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
และศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

5. ติดต่อขอรับบริการ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

หน่วยบริการด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (OHSEC-WU)
สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
222  ต.ไทยบุรี  อ.ท่าศาลา  จ.นครศรีธรรมราช  80161

ผู้ประสานงาน :  อาจารย์ทัศณุ  เรืองสุวรรณ์
โทร.: 086-968-4096, 075-672-700  โทรสาร : 075-672-705
E-mail : tassanu.ru@wu.ac.th