9 เหตุผล ทำไมต้องเลือกเรียน “สาธารณสุขศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์”

School of Public Health

1. ระบบการเรียนการสอนแบบ UKPSF

United Kingdom Professional Standard Framework

กระบวนการออกแบบหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนของสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ อยู่บนพื้นฐานของการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นผลลัพธื (Outcome-based Learning) ซึ่งได้รับการรับรองจาก Higher Education Association ประเทศอังกฤษตามกรอบ UKPSF ซึ่งสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์มีอาจารย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับ Senior fellowship/ Fellowship ทั้งสิ้น 32 คน  (ข้อมูล ณ มีนาคม 2565) ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในสำนักวิชา/คณะสาธารณสุขศาสตร์ในประเทศไทย

School of Public Health

2. ทุกหลักสูตรได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ

หลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตรของสำนักวิชา (อนามัยสิ่งแวดล้อม, อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, สาธารณสุขชุมชน) ได้รับการรับรองจากสภาการสาธารณสุขชุมชน นอกจากนั้นหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อม และหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ยังออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้บัณฑิตสามารถมีช่องทางโอกาสทำงานได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีสำนักวิชา/คณะสาธารณสุขศาสตร์ในประเทศไทย ไม่กี่สถาบัน ที่ทุกหลักสูตรการได้รับรองจากสภาวิชาชีพทั้งหมดเช่นนี้

School of Public Health

3. การเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก และเน้นการปฎิบัติ

ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยและสำนักวิชา การเรียนการสอนจะดำเนินการในลักษณะ Active learning หรือการเรียนรู้เชิงรุก โดยเน้นให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริง ใช้เครื่องมืออุปกรณ์จริง ลงไปสัมผัสในพื้นที่ชุมชนอย่างแท้จริง

School of Public Health

4. ระบบการฝึกสหกิจศึกษา 8 เดือน

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมสูงสุดในการปฎิบัติงาน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ได้ปรับการฝึกสหกิจศึกษาจาก 4 เดือน เป็น 8 เดือน ซึ่งเป็นสำนักวิชา/คณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งเดียวในประเทศไทยที่ดำเนินการเช่นนี้ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฎิบัติกับสถานประกอบการได้อย่างเต็มที่เสมือนพนักงานคนหนึ่ง ดังนั้นนักศึกษาจึงมีความพร้อมที่จะปฎิบัติงานทันทีเมื่อจบการศึกษา

School of Public Health

5. อัตราการได้งานทำสูง

อัตราการได้งานทำของบัณฑิตสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์อยู่ในระดับ 80%-100% โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณ 90% มีบัณฑิตตลอด 20 รุ่นที่ผ่านมากระจายอยู่ทั่วประเทศในหน่วยงานของ เอกชน และรัฐ ตั้งแต่หน่วยงานระดับกระทรวง กรม กอง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

School of Public Health

6. กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ระดับนานาชาติ

สำนักวิชามีการจัดกิจกรรมต่างๆที่เสริมทักษะการเรียนรู้ระดับนานาชาติมากมาย เช่น การฝึกสหกิจศึกษาต่างประเทศ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย จีน เวียดนาม ไต้หวัน การเสริมทักษะการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นสำนักวิชายังมีอาจารย์ต่างชาติที่เป็นอาจารย์ประจำ และอาจารย์พิเศษนักศึกษาสามารถเรียนรู้จากอาจารย์ได้โดยตรง

School of Public Health

7. คุณภาพและความพร้อมของคณาจารย์

คณาจารย์ของสำนักวิชามีคุณวุฒิทีเพียบพร้อม ในความเชี่ยวชาญที่หลากหลายที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่นักศึกษา อาจารย์มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก/กำลังศึกษาปริญญาเอกทั้งคิดเป็นกว่า 60% และมีตำแหน่งวิชาการ 50% ( (ข้อมูล ณ มีนาคม 2565) ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่อยู่ในระดับแนวหน้าของ สำนักวิชา/คณะสาธารณสุขศาสตร์ในประเทศไทย

School of Public Health

8. ความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือ

มหาวิทยาลัย และสำนักวิชาให้ความสำคัญในเรื่องอุปกรณ์และเครื่องมือที่จะใช้เรียน เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติได้จริง ดังนั้นจึงมีห้องปฎิบัติการ และเครื่องมือที่เพียงพอให้นักศึกษาทุกหลักสูตรได้ลงมือปฎิบัติเพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้

School of Public Health

9. ดูแลทั้งวิชาการและวิชาชีวิต

นอกเหนือจากความรู้ทางวิชาการ สำนักวิชายังได้ดูแลนักศึกษาเรื่องวิชาชีวิต ผ่านระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการให้คำปรึกษา ผ่าน Smile and smart center ของสำนักวิชา ที่มีคณาจารย์ และนักศึกษาที่ผ่านการอบรม คอยให้คำปรึกษา แนะนำในกรณีที่นักศึกษาประสบปัญหาชีวิตต่างๆ